ข้อมูลทางเทคนิคเบื้องต้นของเสาเข็มหล่อสำเร็จแบบแรงเหวี่ยง
หรือทั่วไปเรียก สปันไมโครไพล์ บริษัท สยาม ไมโครไพล์ จำกัด

ข้อมูลทางเทคนิคเบื้องต้นของเสาเข็มหล่อสำเร็จแบบแรงเหวี่ยง
หรือทั่วไปเรียก สปันไมโครไพล์ บริษัท สยาม ไมโครไพล์ จำกัด

ตึกทรุด
Asset 2

1. มีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้มาก หรือไม่น้อยกว่าท่อเหล็กที่ใช้ในปัจจุบัน

2. คอนกรีตถูกทำให้แน่น (compaction) โดยการใช้แรงเหวี่ยงขนาด 30 G มวลคอนกรีตจึงมีมวลความหนาแน่นสูงมากกว่าเสาเข็มแบบอื่นๆทั่วๆไป จึงมีความทึบน้ำสูงและทนทานต่อการกรัดกร่อนจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดีมาก
3. มีน้ำหนักเบา เนื่องจากมีรูปหน้าตัดแบบกลมกลวง

4. ผลิตออกมาเป็นท่อนสั้นๆ เพื่อให้สามารถขนย้ายได้โดยง่ายโดยใช้แรงงานคน และสามารถขนย้ายเข้าสู่สถานที่ทำงานที่คับแคบได้

5. ออกแบบรอยต่อเชื่อมให้มีความแข็งแรงไม่น้อยกว่าตัวเสาเข็ม สามารถเชื่อมต่อกันได้หลายท่อนจนได้ความยาวที่ต้องการ โดยความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกไม่ลดลง

5.ออกแบบรอยต่อเชื่อมให้มีความแข็งแรงไม่น้อยกว่าตัวเสาเข็ม สามารถเชื่อมต่อกันได้หลายท่อนจนได้ความยาวที่ต้องการ โดยความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกไม่ลดลง

6.สามารถติดตั้งโดยใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มขนาดเล็ก ความสูงของปั้นจั่นไม่มากทำให้สามารถทำงานในพื้นที่ใต้หลังคาของอาคารเดิมได้โดยสะดวก

7.ในกรณีของงานเสริมความแข็งแรงของฐานราก สามารถติดตั้งได้โดยใช้  Hydraulic Jack

8.มีคุณภาพสูงจนได้รับใบรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.397/2524 เป็นรายแรกในประเทศไทย

9.มีราคาที่เหมาะสม ไม่แพง เมื่อเทียบกับคุณภาพและความสามารถในการรับน้ำหนัก โครงสร้างของอาคารต่างๆ ถูกออกแบบให้ทำหน้าที่ต่างกัน โครงสร้างที่อยู่เหนือพื้นดิน เมื่อเกิดความเสียหาย หรือชำรุด ก็ยังสามารถซ่อมแซมแก้ไขได้โดยไม่ยากนัก แต่สำหรับเสาเข็มหรือฐานรากนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อเกิดการชำรุดเสียหายในภายหลัง การซ่อมแซมแก้จะทำได้ค่อนข้างยากลำบาก และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่คนส่วนมากมักจะมองข้ามเรื่องนี้ไป โดยมักจะไม่ให้ความสำคัญกับฐานรากมากนัก เพราะเป็นส่วนที่เมื่อทำสำเร็จแล้วจะจมอยู่ใต้ดิน และมองไม่เห็น  การใช้ฐานรากหรือเสาเข็มที่ไม่เหมาะสม โดยมุ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายในช่วงแรก จึงก่อปัญหาในระยะยาวกับตัวอาคารอย่างชนิดที่คาดไม่ถึง และไม่สมควรอย่างยิ่ง

Share this post
Scroll to Top