ตรวจสอบโครงสร้างอาคาร

siam REMEDY

ตรวจสอบโครงสร้าง

 เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบอาคาร โครงสร้างอาคาร ตรวจสอบเพื่อการปรับปรุงการใช้อาคาร หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้อาคาร วิเคราะห์โครงสร้างเพื่อยืนยันความแข็งแรง รายงานผลการตรวจสอบและแนวทางการแก้ไขพร้อมงบประมาณในการซ่อมแซม
บริษัท ได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกรเลขทะเบียน 0741/54

ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ
การตรวจสอบโครงสร้าง
เพื่อปรับปรุงการใช้อาคาร
ขึ้นทะเบียนกับสภาวิศวกร
ประเภทนิติบุคคล หมายเลข 0741/54
Previous slide
Next slide

บริการตรวจสอบโครงสร้าง

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบโครงสร้างอาคารที่มีปัญหาอาทิ คอนกรีตเพดานหลุดร่อนจนเห็นเหล็กเสริม,เสา,คานคอนกรีตแตกร้าว,เหล็กเสริมภายในเป็นสนิม,น้ำรั่วซึมตามรอยแตกร้าวของโครงสร้าง
  • การตรวจสอบโครงสร้าง เพื่อการปรับปรุงการใช้อาคาร หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้อาคาร การวิเคราะห์โครงสร้างเพื่อยืนยันความแข็งแรง
  • มีรายงานผลการตรวจสอบและแนวทางการแก้ไขพร้อมงบประมาณในการซ่อมแซม
  • บริษัท ขึ้นทะเบียนไว้กับ สภาวิศวกร ประเภทนิติบุคคล หมายเลข 0741/54
  • บริษัท ฯ ขึ้นทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง หมายเลข 3662

ทดสอบและตรวจสอบอาคาร TESTING

การทดสอบและตรวจสอบโครงสร้างของอาคาร มุ่งเน้นตรวจสอบกำลังของโครงสร้าง ว่าได้ตามมาตรฐานหรือไม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการซ่อมแซมหรือปรับปรุงคุณภาพต่อไป ซึ่งมีวิธีการดังนี้

Previous slide
Next slide

1. ตรวจสอบทางกายภาพ Geometry Survey

1.1 การสำรวจมิติต่าง ๆ ทางกายภาพของอาคาร

 เป็นการสำรวจสภาพภายนอกและภายในอาคารที่สามารถมองเห็น สำรวจสภาพการใช้พื้นที่ของอาคาร ทำการบันทึกตรวจวัดความยาว ความกว้างของอาคาร ตำแหน่งและขนาดพร้อมหน้าตัดของโครงสร้างอาคาร เช่น คาน, เสา เป็นต้น เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการจัดทำแบบแปลนของอาคารขึ้นใหม่

1.2 การตรวจสอบบันทึกสภาพการแตกร้าวของอาคาร

เนื่องจากสภาพการใช้งานชำรุดเสียหาย เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการตรวจสอบความมั่งคงแข็งแรงของอาคารต่อไป

การตรวจหารอยแตกร้าว (Cracks) เนื่องจากรอยร้าวเป็นสัญญาณเริ่มแรกที่บ่งชี้ว่าโครงสร้างเริ่มลดความแข็งแรง ทั้งรอยร้าวยังสามารถบอกถึงสาเหตุได้ การตรวจสอบแยกเป็น 
         • ขนาดของรอยร้าว (ความลึก ความกว้าง และความยาว)
         • ทิศทาง (ตามขวาง ตามยาว ตามแนวดิ่ง ตามแนวทแยง หรือมีการกระจายทั่วๆไป)
         • ตำแหน่งรอยร้าว เป็นต้น

Previous slide
Next slide

2. ขุดดิน และสำรวจฐานราก

เป็นการสำรวจมิติต่าง ๆ ของฐานรากอาคาร โดยบันทึกตรวจวัดความยาว ความกว้าง ตำแหน่งและขนาดรวมถึงลักษณะการเสริมเสาเข็ม
เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคารต่อไป

3. ตรวจสอบระดับ และอัตราการทรุดตัวของอาคาร Elevation Survey

การตรวจสอบระดับพื้นและฝ้าเพดานของอาคาร จะทำให้ทราบถึงสภาพการทรุดตัวของอาคาร และยังเป็นข้อมูลเพื่อประกอบการประเมินว่าอาคารมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ในกรณีที่พบว่าอาคารมีการทรุดตัวมากในบริเวณใด ก็จะต้องตรวจสอบฐานรากและโครงสร้างในบริเวณนั้น ๆ ว่ามีความเสียหายมากน้อยเพียงใด

การสำรวจค่าระดับการทรุดตัวของฐานรากและเสาแต่ละชุด เพื่อนำมากำหนดค่าระดับ (PROFILE) ว่าการทรุดตัวของอาคารมีลักษณะอย่างไร เพื่อกำหนดค่าระดับที่จะทำการปรับระดับ และวิธีการยกปรับระดับให้ถูกต้อง
การสำรวจค่าระดับเพื่อความถูกต้องของข้อมูล ได้กำหนดให้ทำวงรอบเพื่อตรวจสอบปรับแก้ค่าระดับอ้างอิงมาตรฐาน (B.M.) ให้ถูกต้อง ก่อนถ่ายระดับเข้าสู่ค่าระดับอ้างอิงชั่วคราว (T.B.M.) เพื่อนำไปใช้ในการสำรวจค่าระดับภายในอาคารต่อไป

4. ตรวจสอบคุณภาพของคอนกรีตแบบไม่ทำลายด้วยวิธีการ Rebound number / Schmidt Hammer Test (ASTM C 805)

เป็นการตรวจสอบคุณภาพของคอนกรีตแบบไม่ทำลาย (Non-Destructive Testing) โดยวิธีวัดขนาดแรงสะท้อนด้วย Schmidt Hammer Test เพื่อประเมินค่ากำลังอัดสูงสุด (Maximum Compressive Strength) หรือค่า Fc’ โดยอาศัยการวัดค่าดัชนีสะท้อนกลับ (Rebound Number) ที่เกิดจากการกดแกนทดสอบ (Plunger) และกระบอกทดสอบ (Housing) ให้ตั้งฉากกับผิวคอนกรีต แรงกระแทกจากสปริงภายในจะทำให้แกนทดสอบเกิดการสะท้อนกลับมีค่าดัชนีตั้งแต่ 10 ถึง 100 ขึ้นอยู่กับความสามารถในการดูดซับพลังงานของผิวคอนกรีต ผิวคอนกรีตที่มีความแข็งแรงมากกว่าจะมีค่าดัชนีสะท้อนกลับสูงกว่า การทดสอบด้วยวิธีนี้ ดำเนินการตามมาตรฐาน ASTM C805

เครื่องมือและอุปกรณ์การทดสอบประกอบด้วย ชุดทดสอบ Rebound Hammer Type N. ให้พลังงานกระแทก 2.207 Nm. ซึ่งเป็นชนิดที่ใช้สำหรับทดสอบคอนกรีตโครงสร้างอาคารทั่วไป การแปรผลทดสอบสามารถกระทำได้โดยตรงจากราฟความสัมพันธ์

5. ตรวจสอบค่ากำลังอัดสูงสุดของคอนกรีต​

โดยวิธี Ultrasonic Pulse Velocity Test (PUNDIT, ASTM C 597) 
เป็นการการตรวจสอบโดยวิธีการส่งคลื่นความถี่สูง (Ultrasonic Pulse) ผ่านเข้าไปในตัวกลางเนื้อคอนกรีตที่ต้องการทดสอบ
นำค่าที่ได้มาคำนวณหาค่าความเร็วคลื่น เพื่อนำไปแปรผลเป็นค่ากำลังอัดสูงสุดของคอนกรีต

6. เจาะเก็บแท่งตัวอย่าง
Core Sampling (ASTM C 42 And C 39)

เป็นการเจาะเก็บตัวอย่างคอนกรีตด้วยเครื่องเจาะ (Core Drilling Machine)
ที่โครงสร้างคานและเสา เพื่อนำไปทดสอบหาค่ากำลังอัดสูงสุด (Maximun Compressive)
ด้วยเครื่องทดสอบกำลังอัด (Compression Machine) ในห้องทดลอง

7. ทดสอบกำลังดึงของเหล็กเสริม

โดยตัดแท่งตัวอย่างจากองค์อาคาร Specimen Sampling (ASTM A370 / ASTM E 8) 
เป็นการทดสอบแบบทำลาย (Destructive Test) โดยการสุ่มตัดแท่งตัวอย่างเหล็กเสริมไปทดสอบหาค่ากำลังรับแรงดึง (Tensile Strength, fy)
ในห้องปฏิบัตการ การทดสอบแบบนี้ไม่เหมาะสมที่จะทำเป็นจำนวนมาก เพราะทำให้องค์อาคารเสียหายและต้องซ่อมแซม

8. ตรวจสอบกำลังของเหล็กเสริม

โดยวิธี Hardness Test (ASTM E 10 / ASTM E 18)
เป็นการทดสอบในลักษณะเดียวกับการทดสอบ Rebound Hammer Test ในคอนกรีต
โดยการทดสอบนี้จะประเมินค่าความแข็ง (Hardness) ของผิวเหล็กเสริม

9. ตรวจสอบตำแหน่งและขนาดของเหล็กเสริม
Ferro Scan / Covermeter Test

เป็นการสำรวจเพื่อหาตำแหน่งและระบุขนาดของเหล็กเสริมในโครงสร้าง โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “COVERMETER”
ทำให้สามารถระบุความลึก (Cover Depth) และขนาดของเหล็กเสริม (Bar Size) ได้

10. ตรวจสอบสภาพความเป็นกรด – ด่างของผิวคอนกรีต
Carbonation Test (pH meter)

ทดสอบภาคสนามได้โดยใช้สารละลาย phoenophtalein เจือจางฉีดพ่นลงบนผิวคอนกรีตเพื่อดูค่า pH
หรือทดสอบในห้องปฏิบัติการโดยเจาะเก็บผงคอนกรีตที่ระยะความลึกต่างๆ กัน มาทดสอบหาค่า pH ในห้องปฏิบัติการ

11. ตรวจสอบปริมาณคลอไรด์ของคอนกรีต
Chloride Content Test (ASTM C 114)

ปริมาณของ Chloride เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการผุกร่อนเป็นสนิมของเหล็กเสริม การตรวจสอบปริมาณ Chloride
เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างระยะความลึกและปริมาณของ Chloride ตรวจสอบโดยนำผงคอนกรีตที่ระดับความลึกต่างๆ มาทดสอบ
และเพื่อหาแนวโน้มการแทรกซึมของ Chloride

12. ทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกขององค์อาคาร
Load Test on Flexural Member (ACI 318)

เป็นการทดสอบเพื่อหากำลังในการรับน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างภายใต้น้ำหนักบรรทุกจริง เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการรับน้ำหนักของโครงสร้าง
โดยการทดสอบจะค่อย ๆ เพิ่มน้ำหนัก ที่กระทำกับโครงสร้างและวัดค่าการเสียรูปของโครงสร้าง (Deflection)

13. ทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม
Pile Load Test (ASTM D 3689-83)

เป็นการทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม โดยวิธี Dynamic Load Test (ASTM D-4945-89
และ AASHTO T 298-93) และวิธี Static Load Test (ASTM D3689-83)

13.1 การทดสอบ Dynamic Load Test

จะใช้ลูกตุ้มน้ำหนักปล่อยกระแทกที่หัวเสาเข็ม เพื่อทำให้เกิดคลื่นความเค้น (Stress Wave) ลงไปตลอดตัวเสาเข็มและสะท้อนกลับขึ้นมา ซึ่งจะถูกบันทึกโดยตัว Transducers ประกอบด้วย Strain Gauges และ Accelerometer ที่ติดใกล้กับหัวเสาเข็ม สัญญาณที่ได้ จะนำไปวิเคราะห์หากำลังการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มต่อไป

13.2 การทดสอบ Static Load Test

จะวางน้ำหนักบรรทุกลงบนหัวเสาเข็มหรือใช้เสาเข็มเป็นตัวยึดโครงเหล็ก (Support Frame) ที่วางพาดอยู่เหนือเสาเข็มทดสอบ จากนั้นใช้แม่แรงไฮดรอลิค ดันหัวเสาเข็มทดสอบ พร้อมกับตรวจวัดและบันทึกค่าการทรุดจมของเสาเข็มไปด้วยพร้อม ๆ กัน เพื่อนำไปวิเคราะห์หากำลังการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มต่อไป

ตรวจสอบอาคาร

14. ตรวจสอบความยาวและความสมบูรณ์ของตัวเสาเข็ม
โดยวิธี Side Echo / Seismic Test ( ASTM D 5882-95 )

เป็นการตรวจสอบความสมบูรณ์ของตัวเสาเข็ม โดยส่งคลื่นความสั่นสะเทือนจากเครื่องกำเนิดความถี่ (Vibrational Machine)
ลงไปในเนื้อคอนกรีตของตัวเสาเข็มที่ต้องการตรวจสอบ ทำให้สามารถตรวจสอบสภาพความต่อเนื่องหรือความบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเสาเข็ม
ได้ทั้งยังประมาณความลึกของเสาเข็มได้อีกด้วย

15. เจาะดิน สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลชั้นดิน
Soil Boring and Soil Testing

การเจาะสำรวจดิน เพื่อทดสอบหาคุณสมบัติพื้นฐานสำหรับการจำแนกประเภทดิน, กำลังรับแรงเฉือนและคุณสมบัติของดินโดยวิธีต่าง ๆ

เพื่อเป็นข้อมูลในการจำแนกประเภทดินและใช้ในการออกแบบฐานราก

16. ทดสอบการรับน้ำหนักของชั้นดิน

Soil Bearing Test / Plate Bearing Test (ASTM D 1194)

เป็นการทดสอบด้วย Plate Bearing เพื่อตรวจสอบความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของพื้นดิน (Soil Bearing Capacity) และ Deformation Characteristic หรือลักษณะการทรุดตัวของดิน โดยแสดงผลการทดสอบเป็นกราฟความชันระหว่าง น้ำหนักบรรทุกและการทรุดตัว (Load-Settlement Curve) และกราฟความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและการทรุดตัว (Time Settlement Curve)

ขั้นตอนในการทำงาน เริ่มจากให้น้ำหนักบรรทุกแก่ Test Plate หรือ Plate Loading ซึ่งวางไว้ที่ก้นหลุมในระดับความลึกเดียวกันของฐานรากที่จะก่อสร้างและขนาดของหลุมเจาะทดสอบไม่ควรน้อยกว่า 4 เท่าของความกว้างของ Plate Loading แล้ววัดค่า Settlement หรือการทรุดตัวที่เกิดขึ้น

Previous slide
Next slide
Previous slide
Next slide

17. ตรวจสอบดิ่งลิฟท์

เป็นการตรวจสอบ เพื่อหาค่าการล้มเอียงในแนวดิ่งของช่องผนังปล่องลิฟท์ โดยขั้นตอนของการสำรวจตรวจสอบ จะต้องกำหนดจุดอ้างอิง (Reference Point) ภายในช่องลิฟท์ก่อน แล้วตั้งกล้องระดับเลเซอร์ให้แนวแกนกล้องผ่านจุดอ้างอิง อ่านค่าที่ได้ด้วยแผ่นสเกล (Scale Plate) บันทึกข้อมูลโดยค่าที่ได้สามารถนำมาพิจารณาหรือเลือกใช้ขนาดของลิฟท์ต่อไป

18. ตรวจสอบแนวโน้มการผุกร่อนของเหล็กเสริม

Half - cell Potential Test (ASTM C 876)

เป็นการตรวจวัดความผุกร่อนของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก จะวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างเหล็กเสริมและบริเวณผิวคอนกรีต เพื่อประเมินค่าการกัดกร่อนและสภาพของชั้นหุ้มเหล็กเสริมในช่วงที่ทำการทดสอบ โดยที่ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้านี้เป็นผลจากขบวนการกัดกร่อนเหล็กเสริม ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงจะบ่งบอกถึงความเสี่ยงในการกัดกร่อนของเหล็กเสริม

โดยค่าพลังงานศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ เพื่อวัดปริมาณการกัดกร่อนในเหล็กเสริมของโครงสร้างคอนกรีตหรือสนิมของเหล็กเสริม โดยใช้เครื่องมือ Corrosion Analyzing Instrument เป็นการทดสอบแบบไม่ทำลาย ซึ่งจะใช้บ่งบอกปริมาณการเกิดสนิมเหล็กที่เกิดจากการผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในเหล็กบริเวณที่ต้องการตรวจสอบได้ เช่น เหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีตและท่อร้อยสายไฟที่ฝังในคอนกรีต รวมถึงความต้านทานของคอนกรีต เพื่อประเมินโอกาสการเกิดสนิมของเหล็กเสริมในบริเวณที่ทำการตรวจสอบ โดยศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์จะถูกใช้เป็นขั้วไฟฟ้าที่อ้างอิงภายนอกและในการหาค่าพลังงานศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ จะเป็นการที่แท่งทองแดงถูกทำให้อิ่มตัวในสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต (Malhotra, V.M. et al, 2004) การวัดค่าจะได้จากการใช้หลักของการเหนี่ยวนำของความต่างศักย์ เป็นไปตามมาตรฐาน ASTM 876-91

Previous slide
Next slide
Previous slide
Next slide

19. ทดสอบกำลังของคอนกรีตโดย Pull-Off Test (ASTM C 1583)

เป็นการทดสอบเพื่อหากำลังรับแรงดึงของคอนกรีต โดยทำการเจียร สกัด / เปิดให้ถึงเนื้อคอนกรีตเดิม จากนั้นทำความสะอาดและยึดหัวดึงคอนกรีตด้วยกาว Epoxy ทิ้งไว้ให้ยึดติดแน่น นำชุดอุปกรณ์ทดสอบมาติดตั้งพร้อมปรับค่าก่อนทำการทดสอบ อ่านค่าทดสอบที่ได้จากมาตรวัดพร้อมจดบันทึกค่าการทดสอบ เพื่อนำไปเปรียบเทียบเป็นกำลังอัดของคอนกรีต

20. ทดสอบประเมินผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนของโครงสร้าง
ภายใต้สภาวะการใช้งาน Vibration Test

เป็นการตรวจวัดพฤติกรรมของโครงสร้างภาคสนามและวิเคราะห์ผลด้วยกระบวนการแปลงผลสัญญาณตรวจวัดด้วยวิธี Digital Signal Processing โดยสามารถประมวลผลได้ ดังนี้

• ตรวจวัดคุณสมบัติตรวจวัดคุณสมบัติทางพลศาสตร์ของโครงสร้าง ประกอบไปด้วยความถี่ธรรมชาติ รูปแบบการสั่นไหวและอัตราส่วนความหน่วงของโครงสร้างจาก
อุปกรณ์ตรวจวัดความเร่ง (Accelerometer)

• ตรวจวัดพฤติกรรมการรับแรงของโครงสร้างภายใต้น้ำหนักทดสอบที่ทราบค่า โดยกำหนดตำแหน่งน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลจากอุปกรณ์วัดค่าความเค้น
(Strain Gage) และอุปกรณืวัดการเคลื่อนตัว (Displacement Transducer)

• ตรวจวัดพฤติกรรมการรับแรงของโครงสร้างภายใต้น้ำหนักทดสอบที่ทราบค่า โดยกำหนดน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่างๆและวิเคราะห์ข้อมูลจากอุปกรณ์วัดค่าความเค้น (Strain Gage) อุปกรณืวัดการเคลื่อนตัว (Displacement Transducer) และอุปกรณ์ตรวจวัดความเร่ง (Accelerometer)

Previous slide
Next slide
Previous slide
Next slide

21. ตรวจวัดการสั่งไหวของอาคาร Ambient vibration

เป็นการตรวจวัดพฤติกรรมของโครงสร้างภาคสนามและวิเคราะห์ผลด้วยกระบวนการแปลงผลสัญญาณตรวจวัดด้วยวิธี Digital Signal Processing (DSP) เพื่อประมวลผลต่อไป
นำค่าการตรวจวัดมาเทียบจากกำหนดมาตรฐานการสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผลกระทบกับอาคาร ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 37 ปี พ.ศ. 2553 ว่ามีผลกระทบต่อความแข็งแรงของอาคารหรือไม่

22. วิธีการอื่นๆ

บริการงานตรวจสอบ

ทดสอบกำลังของคอนกรีต

ทดสอบกำลังของคอนกรีตโดย Pull off Test & CAPO ACI 503R BS 1881 Part 207 & ASTM C 900

ตรวจสอบตำแหน่งและขนาดของเหล็ก

ตรวจสอบตำแหน่งและขนาดของเหล็กเสริม Ferro Scan Covermeter Test

ค่ากำลังอัดสูงสุดของคอนกรีต

ตรวจสอบค่ากำลังอัดสูงสุดของคอนกรีตโดยวิธี Ultrasonic Pulse Velocity Test PUNDIT,ASTM C 597 BS 1881 P

ดำเนินการโดย บริษัท สยาม เรมีดี จำกัด

ผลงานตรวจสอบโครงสร้าง

ตรวจสอบโครงสร้างอาคาร
portfolio ผลงานตรวจสอบโครงสร้าง

ตรวจสอบและซ่อมแซมโครงสร้างอาคารโรงงาน 4 ชั้น ตำบลบางปูใหม่
อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

อาคารโรงงานคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น อาคารมีขนาดโดยประมาณ กว้าง 27.00 เมตร ยาว 46.00 เมตร สูง 18.25 เมตร อายุอาคารประมาณ 30 ปี โดยที่ทางผู้ว่าจ้างมีความประสงค์เปลี่ยนแปลงการใช้น้ำหนักบรรทุกจร 1,000 กก./ตร.ม. บริเวณพื้นที่โรงงาน จึงว่าจ้างบริษัท สยาม เ

ตรวจสอบโครงสร้างอาคาร
portfolio ผลงานตรวจสอบโครงสร้าง

ตรวจสอบและซ่อมแซมโครงสร้างอาคารสำนักงาน จังหวัดปทุมธานี

อาคารสำนักงานเทศบาล ขนาดโดยประมาณกว้าง 11.25 เมตร ยาว 24.00 เมตร สูง 11.00 เมตร มี 2 ชั้น ก่อสร้างมาเป็นประมาณ 50 ปี อาคารเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นภายในเป็นพื้นสำเร็จรูปและพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาเป็นโครงหลังคาเหล็ก เนื่องจากสภาพอาคารปั

ตรวจสอบโครงสร้างอาคาร
portfolio ผลงานตรวจสอบโครงสร้าง

ตรวจสอบและซ่อมแซมโครงสร้างอาคาร พาณิชย์ 3 ชั้น

อาคารพาณิชย์ 3 ชั้น ขนาดโดยประมาณกว้าง 11.00 เมตร ยาว 11.00 เมตร สูง 11.40 เมตร มี 3 ชั้น ก่อสร้างมาเป็นเวลามากกว่า 60 ปี อาคารเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นภายในเป็นพื้นไม้และพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาเป็นโครงหลังคาไม้ เนื่องจากสภาพอาคารใช้งา

ตรวจสอบ
portfolio ผลงานตรวจสอบโครงสร้าง

ตรวจสอบและซ่อมแซมโครงสร้างอาคารโรงเรียน จังหวัดฉะเชิงเทรา

อาคารเรียน ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น และโครงหลังคาเหล็กรูปพรรณ อาคารมีขนาดโดยประมาณกว้าง 13.00 เมตร ยาว 52.00 เมตร สูง 11.61 เมตร อายุอาคารประมาณ 40 ปี โดยที่ทางโรงเรียนฯ มีความประสงค์ที่จะรื้อกันสาดของอาคารออกทั้งหมด จึงว่าจ้างบริษัท สยาม เรมีด

ตรวจสอบ ตึกสูง 46 ชั้น
portfolio ผลงานตรวจสอบโครงสร้าง

ตรวจสอบ ตึกสูง 46 ชั้น

ถนนสุขุมวิท กรุงเทพ     ตึกสูง 46 ชั้น ถนนสุขุมวิท อาคารเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก มีรอยแตกร้าวที่ผนังชั้นใต้ดิน ต้องการทราบกำลังของวัสดุต่างๆ เพื่อนำไปประกอบการวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างต่อไป จึงให้ทำการสำรวจตรวจสอบการทรุดตัวของอาคาร กำลัง

ตรวจสอบ อาคารคอนโดมิเนียม ขนาด 7 ชั้น
portfolio ผลงานตรวจสอบโครงสร้าง

ตรวจสอบ อาคารคอนโดมิเนียม ขนาด 7 ชั้น

เขตหลักสี่ กรุงเทพ อาคารคอนโดมิเนียม ขนาด 7 ชั้นใช้สำหรับพักอาศัย ปัจจุบันกำลังก่อสร้าง อาคารเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นคอนกรีตลวดอัดแรง ได้มีการฝังท่อร้อยสายไฟเอาไว้ในพื้น โดยการทดสอบการรับน้ำหนักของพื้น เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัย

หนังสือรับรองผลงาน

Scroll to Top