ตรวจสอบโครงสร้างอาคาร

siam REMEDY

ตรวจสอบโครงสร้าง

 เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบอาคาร โครงสร้างอาคาร ตรวจสอบเพื่อการปรับปรุงการใช้อาคาร หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้อาคาร วิเคราะห์โครงสร้างเพื่อยืนยันความแข็งแรง รายงานผลการตรวจสอบและแนวทางการแก้ไขพร้อมงบประมาณในการซ่อมแซม
บริษัท ได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกรเลขทะเบียน 0741/54

ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ
การตรวจสอบโครงสร้าง
เพื่อปรับปรุงการใช้อาคาร
ขึ้นทะเบียนกับสภาวิศวกร
ประเภทนิติบุคคล หมายเลข 0741/54
Previous slide
Next slide

บริการตรวจสอบโครงสร้าง

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบโครงสร้างอาคารที่มีปัญหาอาทิ คอนกรีตเพดานหลุดร่อนจนเห็นเหล็กเสริม,เสา,คานคอนกรีตแตกร้าว,เหล็กเสริมภายในเป็นสนิม,น้ำรั่วซึมตามรอยแตกร้าวของโครงสร้าง
  • การตรวจสอบโครงสร้าง เพื่อการปรับปรุงการใช้อาคาร หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้อาคาร การวิเคราะห์โครงสร้างเพื่อยืนยันความแข็งแรง
  • มีรายงานผลการตรวจสอบและแนวทางการแก้ไขพร้อมงบประมาณในการซ่อมแซม
  • บริษัท ขึ้นทะเบียนไว้กับ สภาวิศวกร ประเภทนิติบุคคล หมายเลข 0741/54
  • บริษัท ฯ ขึ้นทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง หมายเลข 3662

ทดสอบและตรวจสอบอาคาร TESTING

การทดสอบและตรวจสอบโครงสร้างของอาคาร มุ่งเน้นตรวจสอบกำลังของโครงสร้าง ว่าได้ตามมาตรฐานหรือไม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการซ่อมแซมหรือปรับปรุงคุณภาพต่อไป ซึ่งมีวิธีการดังนี้

Previous slide
Next slide

1. ตรวจสอบทางกายภาพ Geometry Survey

1.1 การสำรวจมิติต่าง ๆ ทางกายภาพของอาคาร

 เป็นการสำรวจสภาพภายนอกและภายในอาคารที่สามารถมองเห็น สำรวจสภาพการใช้พื้นที่ของอาคาร ทำการบันทึกตรวจวัดความยาว ความกว้างของอาคาร ตำแหน่งและขนาดพร้อมหน้าตัดของโครงสร้างอาคาร เช่น คาน, เสา เป็นต้น เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการจัดทำแบบแปลนของอาคารขึ้นใหม่

1.2 การตรวจสอบบันทึกสภาพการแตกร้าวของอาคาร

เนื่องจากสภาพการใช้งานชำรุดเสียหาย เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการตรวจสอบความมั่งคงแข็งแรงของอาคารต่อไป

การตรวจหารอยแตกร้าว (Cracks) เนื่องจากรอยร้าวเป็นสัญญาณเริ่มแรกที่บ่งชี้ว่าโครงสร้างเริ่มลดความแข็งแรง ทั้งรอยร้าวยังสามารถบอกถึงสาเหตุได้ การตรวจสอบแยกเป็น 
         • ขนาดของรอยร้าว (ความลึก ความกว้าง และความยาว)
         • ทิศทาง (ตามขวาง ตามยาว ตามแนวดิ่ง ตามแนวทแยง หรือมีการกระจายทั่วๆไป)
         • ตำแหน่งรอยร้าว เป็นต้น

Previous slide
Next slide

2. ขุดดิน และสำรวจฐานราก

เป็นการสำรวจมิติต่าง ๆ ของฐานรากอาคาร โดยบันทึกตรวจวัดความยาว ความกว้าง ตำแหน่งและขนาดรวมถึงลักษณะการเสริมเสาเข็ม
เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคารต่อไป

3. ตรวจสอบระดับ และอัตราการทรุดตัวของอาคาร Elevation Survey

การตรวจสอบระดับพื้นและฝ้าเพดานของอาคาร จะทำให้ทราบถึงสภาพการทรุดตัวของอาคาร และยังเป็นข้อมูลเพื่อประกอบการประเมินว่าอาคารมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ในกรณีที่พบว่าอาคารมีการทรุดตัวมากในบริเวณใด ก็จะต้องตรวจสอบฐานรากและโครงสร้างในบริเวณนั้น ๆ ว่ามีความเสียหายมากน้อยเพียงใด

การสำรวจค่าระดับการทรุดตัวของฐานรากและเสาแต่ละชุด เพื่อนำมากำหนดค่าระดับ (PROFILE) ว่าการทรุดตัวของอาคารมีลักษณะอย่างไร เพื่อกำหนดค่าระดับที่จะทำการปรับระดับ และวิธีการยกปรับระดับให้ถูกต้อง
การสำรวจค่าระดับเพื่อความถูกต้องของข้อมูล ได้กำหนดให้ทำวงรอบเพื่อตรวจสอบปรับแก้ค่าระดับอ้างอิงมาตรฐาน (B.M.) ให้ถูกต้อง ก่อนถ่ายระดับเข้าสู่ค่าระดับอ้างอิงชั่วคราว (T.B.M.) เพื่อนำไปใช้ในการสำรวจค่าระดับภายในอาคารต่อไป

4. ตรวจสอบคุณภาพของคอนกรีตแบบไม่ทำลายด้วยวิธีการ Rebound number / Schmidt Hammer Test (ASTM C 805)

เป็นการตรวจสอบคุณภาพของคอนกรีตแบบไม่ทำลาย (Non-Destructive Testing) โดยวิธีวัดขนาดแรงสะท้อนด้วย Schmidt Hammer Test เพื่อประเมินค่ากำลังอัดสูงสุด (Maximum Compressive Strength) หรือค่า Fc’ โดยอาศัยการวัดค่าดัชนีสะท้อนกลับ (Rebound Number) ที่เกิดจากการกดแกนทดสอบ (Plunger) และกระบอกทดสอบ (Housing) ให้ตั้งฉากกับผิวคอนกรีต แรงกระแทกจากสปริงภายในจะทำให้แกนทดสอบเกิดการสะท้อนกลับมีค่าดัชนีตั้งแต่ 10 ถึง 100 ขึ้นอยู่กับความสามารถในการดูดซับพลังงานของผิวคอนกรีต ผิวคอนกรีตที่มีความแข็งแรงมากกว่าจะมีค่าดัชนีสะท้อนกลับสูงกว่า การทดสอบด้วยวิธีนี้ ดำเนินการตามมาตรฐาน ASTM C805

เครื่องมือและอุปกรณ์การทดสอบประกอบด้วย ชุดทดสอบ Rebound Hammer Type N. ให้พลังงานกระแทก 2.207 Nm. ซึ่งเป็นชนิดที่ใช้สำหรับทดสอบคอนกรีตโครงสร้างอาคารทั่วไป การแปรผลทดสอบสามารถกระทำได้โดยตรงจากราฟความสัมพันธ์

5. ตรวจสอบค่ากำลังอัดสูงสุดของคอนกรีต​

โดยวิธี Ultrasonic Pulse Velocity Test (PUNDIT, ASTM C 597) 
เป็นการการตรวจสอบโดยวิธีการส่งคลื่นความถี่สูง (Ultrasonic Pulse) ผ่านเข้าไปในตัวกลางเนื้อคอนกรีตที่ต้องการทดสอบ
นำค่าที่ได้มาคำนวณหาค่าความเร็วคลื่น เพื่อนำไปแปรผลเป็นค่ากำลังอัดสูงสุดของคอนกรีต

6. เจาะเก็บแท่งตัวอย่าง
Core Sampling (ASTM C 42 And C 39)

เป็นการเจาะเก็บตัวอย่างคอนกรีตด้วยเครื่องเจาะ (Core Drilling Machine)
ที่โครงสร้างคานและเสา เพื่อนำไปทดสอบหาค่ากำลังอัดสูงสุด (Maximun Compressive)
ด้วยเครื่องทดสอบกำลังอัด (Compression Machine) ในห้องทดลอง

7. ทดสอบกำลังดึงของเหล็กเสริม

โดยตัดแท่งตัวอย่างจากองค์อาคาร Specimen Sampling (ASTM A370 / ASTM E 8) 
เป็นการทดสอบแบบทำลาย (Destructive Test) โดยการสุ่มตัดแท่งตัวอย่างเหล็กเสริมไปทดสอบหาค่ากำลังรับแรงดึง (Tensile Strength, fy)
ในห้องปฏิบัตการ การทดสอบแบบนี้ไม่เหมาะสมที่จะทำเป็นจำนวนมาก เพราะทำให้องค์อาคารเสียหายและต้องซ่อมแซม

8. ตรวจสอบกำลังของเหล็กเสริม

โดยวิธี Hardness Test (ASTM E 10 / ASTM E 18)
เป็นการทดสอบในลักษณะเดียวกับการทดสอบ Rebound Hammer Test ในคอนกรีต
โดยการทดสอบนี้จะประเมินค่าความแข็ง (Hardness) ของผิวเหล็กเสริม

9. ตรวจสอบตำแหน่งและขนาดของเหล็กเสริม
Ferro Scan / Covermeter Test

เป็นการสำรวจเพื่อหาตำแหน่งและระบุขนาดของเหล็กเสริมในโครงสร้าง โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “COVERMETER”
ทำให้สามารถระบุความลึก (Cover Depth) และขนาดของเหล็กเสริม (Bar Size) ได้

10. ตรวจสอบสภาพความเป็นกรด – ด่างของผิวคอนกรีต
Carbonation Test (pH meter)

ทดสอบภาคสนามได้โดยใช้สารละลาย phoenophtalein เจือจางฉีดพ่นลงบนผิวคอนกรีตเพื่อดูค่า pH
หรือทดสอบในห้องปฏิบัติการโดยเจาะเก็บผงคอนกรีตที่ระยะความลึกต่างๆ กัน มาทดสอบหาค่า pH ในห้องปฏิบัติการ

11. ตรวจสอบปริมาณคลอไรด์ของคอนกรีต
Chloride Content Test (ASTM C 114)

ปริมาณของ Chloride เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการผุกร่อนเป็นสนิมของเหล็กเสริม การตรวจสอบปริมาณ Chloride
เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างระยะความลึกและปริมาณของ Chloride ตรวจสอบโดยนำผงคอนกรีตที่ระดับความลึกต่างๆ มาทดสอบ
และเพื่อหาแนวโน้มการแทรกซึมของ Chloride

12. ทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกขององค์อาคาร
Load Test on Flexural Member (ACI 318)

เป็นการทดสอบเพื่อหากำลังในการรับน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างภายใต้น้ำหนักบรรทุกจริง เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการรับน้ำหนักของโครงสร้าง
โดยการทดสอบจะค่อย ๆ เพิ่มน้ำหนัก ที่กระทำกับโครงสร้างและวัดค่าการเสียรูปของโครงสร้าง (Deflection)

13. ทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม
Pile Load Test (ASTM D 3689-83)

เป็นการทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม โดยวิธี Dynamic Load Test (ASTM D-4945-89
และ AASHTO T 298-93) และวิธี Static Load Test (ASTM D3689-83)

13.1 การทดสอบ Dynamic Load Test

จะใช้ลูกตุ้มน้ำหนักปล่อยกระแทกที่หัวเสาเข็ม เพื่อทำให้เกิดคลื่นความเค้น (Stress Wave) ลงไปตลอดตัวเสาเข็มและสะท้อนกลับขึ้นมา ซึ่งจะถูกบันทึกโดยตัว Transducers ประกอบด้วย Strain Gauges และ Accelerometer ที่ติดใกล้กับหัวเสาเข็ม สัญญาณที่ได้ จะนำไปวิเคราะห์หากำลังการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มต่อไป

13.2 การทดสอบ Static Load Test

จะวางน้ำหนักบรรทุกลงบนหัวเสาเข็มหรือใช้เสาเข็มเป็นตัวยึดโครงเหล็ก (Support Frame) ที่วางพาดอยู่เหนือเสาเข็มทดสอบ จากนั้นใช้แม่แรงไฮดรอลิค ดันหัวเสาเข็มทดสอบ พร้อมกับตรวจวัดและบันทึกค่าการทรุดจมของเสาเข็มไปด้วยพร้อม ๆ กัน เพื่อนำไปวิเคราะห์หากำลังการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มต่อไป

ตรวจสอบอาคาร

14. ตรวจสอบความยาวและความสมบูรณ์ของตัวเสาเข็ม
โดยวิธี Side Echo / Seismic Test ( ASTM D 5882-95 )

เป็นการตรวจสอบความสมบูรณ์ของตัวเสาเข็ม โดยส่งคลื่นความสั่นสะเทือนจากเครื่องกำเนิดความถี่ (Vibrational Machine)
ลงไปในเนื้อคอนกรีตของตัวเสาเข็มที่ต้องการตรวจสอบ ทำให้สามารถตรวจสอบสภาพความต่อเนื่องหรือความบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเสาเข็ม
ได้ทั้งยังประมาณความลึกของเสาเข็มได้อีกด้วย

15. เจาะดิน สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลชั้นดิน
Soil Boring and Soil Testing

การเจาะสำรวจดิน เพื่อทดสอบหาคุณสมบัติพื้นฐานสำหรับการจำแนกประเภทดิน, กำลังรับแรงเฉือนและคุณสมบัติของดินโดยวิธีต่าง ๆ

เพื่อเป็นข้อมูลในการจำแนกประเภทดินและใช้ในการออกแบบฐานราก

16. ทดสอบการรับน้ำหนักของชั้นดิน

Soil Bearing Test / Plate Bearing Test (ASTM D 1194)

เป็นการทดสอบด้วย Plate Bearing เพื่อตรวจสอบความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของพื้นดิน (Soil Bearing Capacity) และ Deformation Characteristic หรือลักษณะการทรุดตัวของดิน โดยแสดงผลการทดสอบเป็นกราฟความชันระหว่าง น้ำหนักบรรทุกและการทรุดตัว (Load-Settlement Curve) และกราฟความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและการทรุดตัว (Time Settlement Curve)

ขั้นตอนในการทำงาน เริ่มจากให้น้ำหนักบรรทุกแก่ Test Plate หรือ Plate Loading ซึ่งวางไว้ที่ก้นหลุมในระดับความลึกเดียวกันของฐานรากที่จะก่อสร้างและขนาดของหลุมเจาะทดสอบไม่ควรน้อยกว่า 4 เท่าของความกว้างของ Plate Loading แล้ววัดค่า Settlement หรือการทรุดตัวที่เกิดขึ้น

Previous slide
Next slide
Previous slide
Next slide

17. ตรวจสอบดิ่งลิฟท์

เป็นการตรวจสอบ เพื่อหาค่าการล้มเอียงในแนวดิ่งของช่องผนังปล่องลิฟท์ โดยขั้นตอนของการสำรวจตรวจสอบ จะต้องกำหนดจุดอ้างอิง (Reference Point) ภายในช่องลิฟท์ก่อน แล้วตั้งกล้องระดับเลเซอร์ให้แนวแกนกล้องผ่านจุดอ้างอิง อ่านค่าที่ได้ด้วยแผ่นสเกล (Scale Plate) บันทึกข้อมูลโดยค่าที่ได้สามารถนำมาพิจารณาหรือเลือกใช้ขนาดของลิฟท์ต่อไป

18. ตรวจสอบแนวโน้มการผุกร่อนของเหล็กเสริม

Half - cell Potential Test (ASTM C 876)

เป็นการตรวจวัดความผุกร่อนของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก จะวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างเหล็กเสริมและบริเวณผิวคอนกรีต เพื่อประเมินค่าการกัดกร่อนและสภาพของชั้นหุ้มเหล็กเสริมในช่วงที่ทำการทดสอบ โดยที่ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้านี้เป็นผลจากขบวนการกัดกร่อนเหล็กเสริม ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงจะบ่งบอกถึงความเสี่ยงในการกัดกร่อนของเหล็กเสริม

โดยค่าพลังงานศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ เพื่อวัดปริมาณการกัดกร่อนในเหล็กเสริมของโครงสร้างคอนกรีตหรือสนิมของเหล็กเสริม โดยใช้เครื่องมือ Corrosion Analyzing Instrument เป็นการทดสอบแบบไม่ทำลาย ซึ่งจะใช้บ่งบอกปริมาณการเกิดสนิมเหล็กที่เกิดจากการผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในเหล็กบริเวณที่ต้องการตรวจสอบได้ เช่น เหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีตและท่อร้อยสายไฟที่ฝังในคอนกรีต รวมถึงความต้านทานของคอนกรีต เพื่อประเมินโอกาสการเกิดสนิมของเหล็กเสริมในบริเวณที่ทำการตรวจสอบ โดยศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์จะถูกใช้เป็นขั้วไฟฟ้าที่อ้างอิงภายนอกและในการหาค่าพลังงานศักย์ไฟฟ้าครึ่งเซลล์ จะเป็นการที่แท่งทองแดงถูกทำให้อิ่มตัวในสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต (Malhotra, V.M. et al, 2004) การวัดค่าจะได้จากการใช้หลักของการเหนี่ยวนำของความต่างศักย์ เป็นไปตามมาตรฐาน ASTM 876-91

Previous slide
Next slide
Previous slide
Next slide

19. ทดสอบกำลังของคอนกรีตโดย Pull-Off Test (ASTM C 1583)

เป็นการทดสอบเพื่อหากำลังรับแรงดึงของคอนกรีต โดยทำการเจียร สกัด / เปิดให้ถึงเนื้อคอนกรีตเดิม จากนั้นทำความสะอาดและยึดหัวดึงคอนกรีตด้วยกาว Epoxy ทิ้งไว้ให้ยึดติดแน่น นำชุดอุปกรณ์ทดสอบมาติดตั้งพร้อมปรับค่าก่อนทำการทดสอบ อ่านค่าทดสอบที่ได้จากมาตรวัดพร้อมจดบันทึกค่าการทดสอบ เพื่อนำไปเปรียบเทียบเป็นกำลังอัดของคอนกรีต

20. ทดสอบประเมินผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนของโครงสร้าง
ภายใต้สภาวะการใช้งาน Vibration Test

เป็นการตรวจวัดพฤติกรรมของโครงสร้างภาคสนามและวิเคราะห์ผลด้วยกระบวนการแปลงผลสัญญาณตรวจวัดด้วยวิธี Digital Signal Processing โดยสามารถประมวลผลได้ ดังนี้

• ตรวจวัดคุณสมบัติตรวจวัดคุณสมบัติทางพลศาสตร์ของโครงสร้าง ประกอบไปด้วยความถี่ธรรมชาติ รูปแบบการสั่นไหวและอัตราส่วนความหน่วงของโครงสร้างจาก
อุปกรณ์ตรวจวัดความเร่ง (Accelerometer)

• ตรวจวัดพฤติกรรมการรับแรงของโครงสร้างภายใต้น้ำหนักทดสอบที่ทราบค่า โดยกำหนดตำแหน่งน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลจากอุปกรณ์วัดค่าความเค้น
(Strain Gage) และอุปกรณืวัดการเคลื่อนตัว (Displacement Transducer)

• ตรวจวัดพฤติกรรมการรับแรงของโครงสร้างภายใต้น้ำหนักทดสอบที่ทราบค่า โดยกำหนดน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่างๆและวิเคราะห์ข้อมูลจากอุปกรณ์วัดค่าความเค้น (Strain Gage) อุปกรณืวัดการเคลื่อนตัว (Displacement Transducer) และอุปกรณ์ตรวจวัดความเร่ง (Accelerometer)

Previous slide
Next slide
Previous slide
Next slide

21. ตรวจวัดการสั่งไหวของอาคาร Ambient vibration

เป็นการตรวจวัดพฤติกรรมของโครงสร้างภาคสนามและวิเคราะห์ผลด้วยกระบวนการแปลงผลสัญญาณตรวจวัดด้วยวิธี Digital Signal Processing (DSP) เพื่อประมวลผลต่อไป
นำค่าการตรวจวัดมาเทียบจากกำหนดมาตรฐานการสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผลกระทบกับอาคาร ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 37 ปี พ.ศ. 2553 ว่ามีผลกระทบต่อความแข็งแรงของอาคารหรือไม่

22. วิธีการอื่นๆ

บริการงานตรวจสอบ

ทดสอบกำลังของคอนกรีต

ทดสอบกำลังของคอนกรีตโดย Pull off Test & CAPO ACI 503R BS 1881 Part 207 & ASTM C 900

ตรวจสอบตำแหน่งและขนาดของเหล็ก

ตรวจสอบตำแหน่งและขนาดของเหล็กเสริม Ferro Scan Covermeter Test

ค่ากำลังอัดสูงสุดของคอนกรีต

ตรวจสอบค่ากำลังอัดสูงสุดของคอนกรีตโดยวิธี Ultrasonic Pulse Velocity Test PUNDIT,ASTM C 597 BS 1881 P

ดำเนินการโดย บริษัท สยาม เรมีดี จำกัด

ผลงานตรวจสอบโครงสร้าง

ตรวจสอบวิเคราะห์ บ้านพักอาศัย
portfolio ผลงานตรวจสอบโครงสร้าง

ตรวจสอบบ้านพักอาศัย

ถนนบางนา-ตราด กม.6  สมุทรปราการ บ้านพักอาศัย 2 หลัง แบ่งเป็นอาคาร A และอาคาร B โดยแต่ละอาคารมีชั้นใต้ดิน ต้องการเพิ่มโครงเหล็กเพื่อวาง sola cell ที่ดาดฟ้า โดยอาคารมีรอยแตกร้าวที่พื้นและคานเป็นจำนวนหนึ่ง โดยการสำรวจตรวจสอบโครงสร้างอาคารเพื่อหาสาเ

ตรวจสอบโรงละคร (อาคารกลาง)
portfolio ผลงานตรวจสอบโครงสร้าง

ตรวจสอบโรงละคร

ถนนราชินี กรุงเทพ     อาคารสูง 5 ชั้น อายุการใช้งานประมาณ 55 ปี อาคารเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ไม่มีแบบโครงสร้างของอาคารจึงทำการสำรวจตรวจสอบตำแหน่งเหล็กเสริมในคอนกรีต วัดขนาดโครงสร้างต่าง ๆ สำรวจฐานรากและความยาวของเสาเข็ม เพื่อจัด

ตรวจสอบวิเคราะห์ สะพานทางเข้าหมู่บ้าน
portfolio ผลงานตรวจสอบโครงสร้าง

ตรวจสอบสะพานทางเข้าหมู่บ้าน

อ.บางกรวย จ.นนทบุรี     สะพานช่วงเดี่ยว โครงสร้างเป็นระบบ Plank Girder สะพานมีการใช้งานมานาน ซึ่งปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างหมู่บ้านอีกฝั่งและใช้เป็นทางสัญจร โดยทำการสำรวจตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้างสะพาน เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัย

ตรวจสอบวิเคราะห์ ตึกแถว 10 คูหา ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
portfolio ผลงานตรวจสอบโครงสร้าง

ตรวจสอบตึกแถว 10 คูหา

อาคารพาณิชย์ 3 ชั้น 10 คูหา ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ มีอายุการใช้งานประมาณ 50 ปี โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ต้องการต่อเติมเพิ่มชั้นและเปลี่ยนแปลงการใช้งานเป็นอาคารหอพัก โดยทำการตรวจสอบโครงสร้างอาคารและเสนอแนะแนวทางการแก้ไข ประกอบการปรับปรุงเปลี่ยน

ตรวจสอบและซ่อมแซมโครงสร้างอาคารโรงงานเพลิงไหม้ จ.ขอนแก่น
portfolio ผลงานตรวจสอบโครงสร้าง

งานตรวจสอบและซ่อมแซมโครงสร้างอาคารโรงงานเพลิงไหม้ จ.ขอนแก่น

งานตรวจสอบและซ่อมแซมโครงสร้างอาคารโรงงานเพลิงไหม้ จ.ขอนแก่น – งานที่ปรึกษาตรวจสอบโครงสร้างอาคารโรงงานเพลิงไหม้และเสนอแนะแนวทางการแก้ไข พร้อมทำการซ่อมแซมโครงสร้างอาคารเพื่อสามารถใช้งานอาคารได้อย่างปลอดภัย – อาคาร 4 ชั้นโครงสร้างเหล็ก พื้นค

หนังสือรับรองผลงาน

Scroll to Top