วิธีการตรวจสอบบ้านทรุด แก้ไขบ้านทรุด
บ้านทรุด บ้านร้าว แก้ไขบ้านทรุด ปัญหาหนักอกของคนรักบ้าน
ปัญหาอย่างหนึ่งของบ้านที่ปลูกบนชั้นดินอ่อน โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ก็คือ การทรุดตัวแตกร้าวที่เกิดขึ้นกับส่วนต่าง ๆของตัวบ้าน ทำให้เจ้าของบ้านรู้สึกไม่สบายใจ กังวลว่าการทรุดตัวแตกร้าวที่เห็นนั้นมันร้ายแรงขนาดไหน จะทำให้บ้านพังหรือเปล่า การที่จะวินิจฉัยว่า อาการที่ปรากฏนั้นว่ามันจะขนาดไหนนั้น ก็ยากที่จะฟันธงลงไปว่าจะร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง แม้ผู้วินิจฉัยจะเป็นวิศวกรก็เถอะ รอยแตกร้าวที่เห็น อาจจะเป็นแค่รอยร้าวตามธรรมชาติของปูนฉาบ ไม่มีผลต่อโครงสร้างใด ๆของตัวอาคารก็ได้ หรือเกิดจากการทำงานที่ขาดคุณภาพของช่าง ซึ่งเรื่องนี้ถ้าจะให้ชัดเจนลงไปเลยก็ต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์ครับ
แต่เราก็มีวิธีการสังเกตหรือการตรวจสอบเบื้องต้นแบบง่ายๆ อยู่เหมือนกัน คือ
1.การสังเกตรอยร้าวของผนัง
เพื่อหาแนวทางแก้ไขบ้านทรุด
2. วิธีตรวจสอบว่ารอยแตกร้าวนั้นเกิดจากการทรุดตัวของฐานรากหรือไม่ เราอาจจะใช้เทปติดกระดาษ หรือที่เรียกว่า สก๊อตเทป ติดในแนวตั้งฉากกับรอยร้าวนั้นหลายๆอัน
3. สังเกตจากประตูหน้าต่างที่เคยเปิดปิดได้สะดวก
4. กระเบื้องพื้นหรือผนังแตกร้าวโก่งตัวผิดรูป
การซ่อมแซมรอยแตกร้าวที่เห็นโดยไม่แก้ไขที่ต้นตอของปัญหาเสียก่อน ก็จะต้องซ่อมแล้วซ่อมอีก ซ่อมแล้วก็อยู่ได้สักพักแล้วก็แตกร้าวใหม่ก็ต้องซ่อมอีก ไม่จบไม่สิ้นสักที การทรุดตัวของอาคารโดยทั่วไปแล้ว จะไม่มีปัญหาอะไรถ้าเป็นการทรุดตัวที่เท่า ๆกัน แต่จะเป็นปัญหาทันทีถ้ามีการทรุดตัวต่างระดับ โดยเฉพาะการเชื่อมต่อโครงสร้างใหม่กับอาคารเก่าเข้าด้วยกันอย่างผิดวิธี ซึ่งคงจะได้พูดถึงเรื่องนี้อีกในครั้งต่อไป
ถ้าท่านใดมีปัญหาเรื่องบ้านทรุดตัวแตกร้าว อยากให้เราช่วยดูให้ก็ติดต่อมานะครับ เรายินดีให้คำปรึกษาฟรีครับ
บ้านทรุด รื้อหรือซ่อม เอาอย่างไรดี ?
เป็นคำถามที่ดีและเป็นคำถามยอดฮิตของท่านเจ้าของบ้านที่มีปัญหาบ้านทรุด เอียง เนื่องจากมีความรู้สึกว่า ถ้าซ่อมแซมฐานรากแล้วแพง ไม่คุ้มค่า จึงต้องพิจารณากันอย่างจริงจังว่าแพงและไม่คุ้มค่าจริงหรือเปล่า ก่อนที่จะตอบ ซึ่งจำเป็นต้องมองภาพรวมของทางเลือกแต่ละทางกันก่อนและแยกแยะค่าใช้จ่ายในแต่ละกรณี จึงจะได้บทสรุป ว่าคุ้มหรือไม่คุ้ม ซึ่งจะเป็นคำตอบสุดท้ายว่าจะตัดสินใจอย่างไร
-บ้านคือสถานที่ ที่เจ้าของได้ลงเงิน, ลงแรง และใช้ความคิดไปไม่น้อยในการออกแบบและตกแต่ง จนกระทั่งลงตัวและตรงใจเจ้าของ เช่น การตกแต่งวอล์ลเปเปอร์, ผ้าม่าน, เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ โดยเฉพาะงานเฟอร์นิเจอร์ที่ติดถาวร (Builtin) การรื้อย้ายติดตั้งใหม่จึงเป็นเรื่องใหญ่และเสียค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด สำหรับท่านเจ้าของบ้านบางท่านเสียด้วยซ้ำ เป็นปัญหาที่ต้องมีการคิดใคร่ครวญให้ละเอียด
–ด้านเทคนิคการก่อสร้าง ท่านเจ้าของบ้านส่วนใหญ่อาจไม่ทราบและไม่ได้คิดมาก่อน คือ เมื่อมีการรื้อถอนอาคารเก่าแล้ว แต่เสาเข็มและฐานรากอาคารเดิมมักจะไม่ได้ถูกรื้อถอนไปด้วย ดังนั้นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ จึงจำเป็นต้องมีการปรับย้ายตำแหน่ง เพื่อให้หลบพ้นฐานรากอาคารเดิม สำหรับท่านเจ้าของบ้านที่มีพื้นที่มากอาจไม่มีปัญหามากนัก แต่หากมีพื้นที่ที่จำกัดสิ่งที่ไม่คิดว่าเป็นปัญหา ก็จะมีปัญหาตามมา เพราะในขั้นตอนการออกแบบโครงสร้าง วิศวกรมักจะไม่ได้ออกแบบเผื่อตำแหน่งการเยื้องของเสาอาคารและตำแหน่งของเสาเข็มและฐานรากไว้ เมื่อถึงขั้นตอนก่อสร้างถ้าได้ผู้รับจ้างที่มีวิศวกรดูแล ก็โชคดีไปแต่ถ้าได้ผู้รับจ้างไม่ดี อาคารที่ก่อสร้างใหม่อาจก่อให้เกิดการทรุดตัวซ้ำแบบเดิมก็ได้ เนื่องจากการเคลื่อนย้าย, เปลี่ยนแปลงตำแหน่งเสาเข็มและฐานราก ถือเป็นงานที่ต้องอาศัยวิศวกรที่มีประสบการณ์ในการออกแบบ คำนวณ และแก้ไข มิใช่ปล่อยให้ช่างและผู้รับเหมาทำไปตามความเข้าใจ เพราะฐานรากคือส่วนสำคัญที่สุดที่ประกันความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้าง ซึ่งท่านเจ้าของบ้านที่ประสบปัญหาการทรุดตัวของอาคารมาแล้วคงเข้าใจได้อย่างดี ระวังอย่าให้ประวัติศาสตร์ ซ้ำรอยเดิม!
การแก้ไขการทรุดเอียงของอาคารทำได้เพียงวิธีเดียวคือการเสริมเสาเข็มและฐานรากใหม่ และทำไมจึงต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ?
เปรียบเทียบอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการเสริมฐานรากกับการรื้อทิ้งแล้วก่อสร้างใหม่
อธิบายเพิ่มเติมจากภาพ “ทำไมค่าใช้จ่ายสูงแต่ไม่แพง”
จากตาราง : พื้นที่ใช้สอย 243 ตารางเมตร ประมาณการณ์ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง 2,575,800 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายในการเสริมฐานรากพร้อมยกปรับระดับประมาณการณ์ราคาอยู่ที่ 1,457,859 บาท โดยค่าใช้จ่ายในการเสริมฐานรากคิดเป็น 57% ของการก่อสร้างใหม่ ในขณะเดียวกันเมื่อพื้นที่ใช้สอยยิ่งมาก เปอร์เซ็นต์ของการเสริมฐานรากต่อการรื้อทิ้งแล้วก่อสร้างใหม่ยิ่งน้อยลง เมื่อพิจารณาจากพื้นที่ใช้สอย 1,800 ตารางเมตร ประมาณการณ์ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง 23,040,000 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายในการเสริมฐานรากพร้อมยกปรับระดับประมาณการณ์ราคาอยู่ที่ 4,338,438 บาท โดยค่าใช้จ่ายในการเสริมฐานรากคิดเป็นเพียง 19% ของการก่อสร้างใหม่
อ้างอิงจาก : งานวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบปัจจัยด้านราคาสำหรับการเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาการทรุดตัวของอาคาร ที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค นายนันทกานต์ ไตรรัตน์อัญชลี