ซ่อมแซมโครงสร้าง

ซ่อมแซมโครงสร้างอาคาร

การซ่อมโครงสร้างเสา คาน หัก แตกร้าว ตอม่อคอนกรีตแตกหลุดหรือยุบตัว น้ำซึมตามรอนแตกร้าวของโครงสร้าง เหล็กเสริมภายในเป็นสนิม คอนกรีตเพดานหลุดร่อนจนเห็นเหล็กเสริม แนะนำแนวทางการแก้ไขพร้อมงบประมาณในการซ่อมแซม
รับประกันผลงาน มีรายงานผลเซ็นรับรองโดยวิศวกร
บริษัท ได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกรเลขทะเบียน 0741/54

การซ่อมแซมและบำรุงรักษาโครงสร้างเหนือดิน
โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก แม้คอนกรีตจะมีความแข็งแรงและมีความคงทนถาวรสูง แต่ย่อมเสื่อมสภาพตามคุณสมบัติของวัตถุ มาตรฐานการออกแบบและสภาพการใช้งาน ซึ่งประวัติการใช้งาน การบำรุงรักษาและการซ่อมแซมมีความสำคัญในการยืดอายุการใช้งาน เมื่อโครงสร้างเสื่อมสภาพถึงขั้นวิบัติ จึงจำเป็นที่จะต้องหาสาเหตุและแนวทางการซ่อมแซมให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน การประเมินโครงสร้างจะต้องพิจารณาถึงกำลังของโครงสร้างและการให้บริการ การออกแบบและการซ่อมแซมจะทำได้ดีเมื่อหยุดสาเหตุการวิบัติได้และเน้นคุณสมบัติวัสดุ วิธีการซ่อมและสมรรถนะของโครงสร้างที่รองรับการใช้งานได้ตามกำหนด
วิธีการซ่อม

วิธีการซ่อมแซม
โครงสร้างของคอนกรีต

1. การฉีดอัด (Injection)

  • ซ่อมโครงสร้างสำหรับรอยแตกร้าวขนาดเล็ก วัสดุสำหรับการฉีดในงานคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นจะนิยมใช้ประเภทที่สามารถประสานรอยแตกร้าวได้และมีกำลังสูงพอเพียงในการรับแรงได้ รายงานนี้จะเสนอเฉพาะการฉีดด้วยอีพ็อกซี่ (Epoxy Injection) ซึ่งผลิตตาม ASTM D-1763 ประกอบด้วยสารเคมี 2 ส่วนคือยางอีพ็อกซี่ (Epoxy Resin) และส่วนผสมแข็ง (Hardener) สารเคมีสองตัวจะผสมที่หัวฉีด แล้วฉีดเข้าสู่ รอยแตกร้าวด้วยความดันสูงที่สามารถแทรกซึมเข้าไปในรอยแตกร้าวเล็ก ๆ ได้

2. การเกราท์ (Grouting)

  • ซ่อมโครงสร้างสำหรับรอยแตกแยกที่มีขนาดกว้างกว่าการแตกร้าว เมื่อขนาดรอยแตกร้าวกว้างพอที่จะให้ของเหลวเข้าอุดระหว่างซอกได้ จึงเหมาะที่จะใช้วัสดุสำหรับการเกราท์ในการซ่อมแซม โดยทั่วไปวัสดุการเกราท์พื้นฐานเป็นซีเมนต์ แต่เมื่อต้องการคุณสมบัติเพื่อเพิ่มกำลังให้สูงขึ้นและลดการหดตัว จะต้องเติมสารผสมเพิ่ม เช่น ผงโลหะ ผงทรายละเอียด ใยหิน ไฟเบอร์หรือซีเมนต์ขยายตัว  ในส่วนผสมเพื่อเสริมให้การยึดเกาะระหว่างอนุภาคสูงขึ้น จะนำไปสู่การเพิ่มกำลังโดยอัตโนมัติ การลดปริมาณน้ำในส่วนผสมจะลดการหดตัวของวัสดุลงได้ อีกทั้งถ้าต้องการเพิ่มความไหลลื่นในการเกราท์ อาจจะใช้สารเคมีผสมเพิ่มช่วยอีกทางหนึ่ง เช่น สารลดน้ำหรือสารลดน้ำพิเศษ เป็นต้น
  • วัสดุสำหรับการเกราท์ ในท้องตลาดมีมากมายหลายอย่างตามสภาพการใช้งานเครื่องมือที่ใช้ รวมไปถึงปริมาณการใช้ การทดสอบคุณสมบัติพื้นฐานกำลังอัด กำลังดัด โมดูลัสยืดหยุ่น สัมประสิทธิ์การขยายตัวและการหดตัว การทดสอบคุณสมบัติการเชื่อมประสานกับคอนกรีตด้วยการทดสอยกำลังดัดและกำลังเฉือนอัดในลักษณะคล้ายกับข้อที่ 1.
Previous slide
Next slide

3. การฉาบปะ (Patching)

  • การฉาบปะ (Patching)เป็นการซ่อมโครงสร้าง สำหรับรอยแตกร่อนบางส่วน ฉาบปะได้จากภายนอกการซ่อมโครงสร้างที่หลุดร่อนหรือรอยแยกขนาดใหญ่ มีวัสดุสำหรับการฉาบปะมีอยู่ 3 กลุ่มหลัก คือกลุ่มที่มีซีเมนต์เป็นพื้นจะใช้มวลผสมที่ควบคุมขนาดคละอย่างดี กลุ่มอีพ็อกซี่ (Epoxy) มียางอีพ็อกซี่เป็นตัวเชื่อมประสาน แต่มีทรายหรือมวลผสมเป็นส่วนรับน้ำหนักและกลุ่มสารโพลิเมอร์ (Polymer) ซึ่งมีโมโนเมอร์ (Monomer) เป็นวัสดุหลักเติมด้วยสารแตกอนู (Catalyst) ให้แปรสภาพเป็นโมเลกุลใหญ่กลายเป็นพลาสติกยึดประสานมวลรวมหรือทรายให้เกาะกัน

4. การเท (Placing)

  • การเท (Placing) สำหรับรอยแตกร่อนหรือเหล็กเดิมเป็นสนิม ต้องเทแทนด้วย คอนกรีตใหม่หรือหรือวัสดุใหม่โดยสิ้นเชิง ในกรณีของแผลใหญ่ที่สามารถเทเข้าที่ได้โดยง่ายด้วยวัสดุซ่อม จึงเป็นเรื่องง่ายและประหยัดที่จะใช้วัสดุในทำนองเดียวกับคอนกรีต แต่จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษคือ จะต้องไม่เปลี่ยนรูปร่างหรือขนาดไปมากหลังจากการเทในระหว่างการก่อตัวและการบ่ม วัสดุที่ใช้จะมีซีเมนต์ ลาเท็กซ์และโพลิเมอร์เป็นหลัก วัสดุทั้ง 4 ประเภท จะประกอบด้วยมวลรวมและสารยึดเกาะ ซึ่งจะเป็นน้ำปูน อีพ็อกซี่ ลาเท็กซ์และโพลิเมอร์ตามลำดับ มวลรวมจะต้องมีขนาดคละที่ดี เพื่อให้ได้กำลังสูงและมีความสามารถเทได้สูงรวมทั้งลดการหดตัว ส่วนการยึดเกาะจะต้องมีความสามารถในการยึดเกาะระหว่างมวลได้ดีให้กำลังสูงและมีการยืดหดตัวน้อยมาก
Previous slide
Next slide
Previous slide
Next slide

5. การซ่อมแซมวิธีอื่น ๆ

  • การซ่อมโครงสร้างขึ้นอยู่กับลักษณะความเสียหาย โดยเลือกวิธีการซ่อมแซมที่เหมาะสม เช่น การเสริมกำลังโครงสร้างด้วยเหล็กรูปพรรณ การติดตั้งระบบกันซึม การซ่อมแซมปูนฉาบเสื่อมสภาพ ฯลฯ

บริการงานซ่อมแซม

งานซ่อมแซมโครงสร้างอาคารสำนักงาน อ สามพราน จ นครปฐม

ดำเนินการโดย บริษัท สยาม เรมีดี จำกัด

ผลงานซ่อมแซมโครงสร้างอาคาร

งานซ่อมแซมโครงสร้าง อำเภอสามพราน

งานซ่อมแซมโครงสร้างอาคารสำนักงาน อ.สามพราน

งานซ่อมแซมโครงสร้างอาคารสำนักงาน อ.สามพราน อาคารเป็นอาคาร 3 ชั้น ใช้เป็นอาคารสำนักงาน ณ ถนนเพชรเกษม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โครงสร้างทั่วไปเป็นระบบ เสา คาน พื้น คอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดอาคารโดยประมาณ

อ่านต่อ »

หนังสือรับรองผลงาน

Scroll to Top