วิธีการติดตั้งเสาเข็ม SPUN MICROPILE มี 3 แบบ

วิธีการติดตั้งเสาเข็ม SPUN MICROPILE มี 3 แบบ

เสาเข็มMicropile
Asset 2

วิธีการติดตั้งเสาเข็ม SPUN MICROPILE

1. โดยปกติทั่วไป จะมีวิธีการติดตั้งเสาเข็มอยู่ 3 แบบคือ การตอกด้วยตุ้มตอก ขนาด 1.0 – 2.0 ตัน วิธีการติดตั้งแบบนี้จะใช้ในกรณีที่มีพื้นที่ทำงานเพียงพอ ซึ่งอย่างน้อยต้องกว้างประมาณ1.20 เมตร ยาวประมาณ3.00 เมตร และมีความสูงของหลังคาเกิน 3.20 เมตร

การติดตั้งเสาเข็มด้วยตุ้มตอก และ การทำงานในที่แคบ

เสาเข็มจะถูกตอกลงไปทีละท่อน เชื่อมต่อแต่ละท่อนเข้าด้วยกันด้วยการเชื่อมไฟฟ้า และสามารถตรวจคุณภาพของรอยเชื่อมด้วยวิธี Penetrant test มีการจดบันทึกจำนวนครั้งที่ตอก (Blow Count) และการตอกสิบครั้งสุดท้าย (Last Ten Blows) เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มและความสามารถในการรับน้ำหนัก ซึ่งปกติจะใช้ Danish’s Formula จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า จะให้ค่าที่ใกล้เคียงกับผลที่ได้จากการทดสอบน้ำหนักบรรทุกเสาเข็มที่สุด และถ้าจำเป็นสามารถทำการทดสอบความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม ด้วยวิธี Dynamic Load Test เช่นเดียวกับเสาเข็มขนาดใหญ่ทั่วไป

การทดสอบน้ำหนักบรรทุกเสาเข็ม

2. การกดอัดด้วยแม่แรงไฮดรอลิควิธี การติดตั้งเสาเข็มแบบนี้จะใช้ในกรณีที่ ไม่สามารถทำงานได้ด้วยวิธีการตามข้อ 1 ปกติจะใช้กับงานเสริมฐานราก ซึ่งจะต้องเข้าไปทำงานใต้อาคารที่มีพื้นที่ทำงานค่อนข้างคับแคบมากๆ และมีความสูงจำกัด การตรวจสอบ รอยต่อเชื่อมทำได้เช่นกับวิธีการในข้อที่1 แต่การตรวจสอบความสามารถในการรับน้ำหนัก จะตรวจสอบจากมาตรวัดแรงดันของแม่แรงไฮดรอลิคที่ได้รับการสอบเทียบ (Calibration) มาแล้ว

การติดตั้งเสาเข็มด้วยวิธีการกดอัดกับโครงสร้างอาคารและการเสริมฐานราก 
การติดตั้งเสาเข็มด้วยวิธีกดอัดกับคานปฏิกิริยา (ชั่วคราว) 

3. วิธีเจาะนำ(Pre- Boring) วิธีการติดตั้งแบบนี้จะใช้ในกรณีที่ชั้นดินมีปัญหาจนไม่สามารถทำงานได้ด้วยวิธีการตามข้อที่ 1 และ 2 เช่นมีการถมที่ด้วยเศษวัสดุหรือชั้นดินบริเวณผิวดินมีความแข็งมาก จนไม่สามารถตอกหรือกดอัดตามปกติได้ โดยไม่ทำความเสียหายแก่ตัวเสาเข็มเอง เมื่อเจาะจนทะลุชั้นดินที่มีปัญหาแล้วจึงทำการตอกหรือเจาะกดตามวิธีปกติต่อไปจนถึงความลึกที่ต้องการ วิธีการทำงานแบบนี้จะสามารถแก้ปัญหาการตอกเสาเข็มไม่ลง หรือไม่ได้ความลึกที่ต้องการได้เป็นอย่างดี

การเจาะนำที่หน่วยงานบ้านพักอาศัยที่สนามบินน้ำ
การทดสอบ Earth Auger Motor

เครื่องเจาะไฮดรอลิค เออร์ท ออเกอร์มอเตอร์ ( Hydraulic Earth Augermotor ) สำหรับการทำงานในระบบพรีบอริ่ง ( Pre-boring) ในกรณีที่ไม่สามารถตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ด้วยตุ้มตอกธรรมดาได้ เนื่องจากชั้นดินมีความแข็งมากเกินไป เช่น พื้นที่ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ที่มีชั้นทรายหนา หรือบริเวณ สระบุรี ที่เป็นชั้นหิน ซึ่งอาจมีอุปสรรคปัญหาใดๆที่ทำให้ไม่สามารถตอกเสาเข็มจนถึงระดับความลึกที่ต้องการได้ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการเคลื่อนตัวด้านข้างของดินอีกด้วย ไฮดรอลิคมอเตอร์มีกำลัง20แรงม้าเพลา สามารถเจาะรูขนาด20ซม.ได้ความลึกมากกว่า21เมตรโดยไม่มีปัญหาใดๆ

Share this post
Scroll to Top